คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

    คําอธิบายรายวิชา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕      เวลา ๘๐ (หรือ ๑๒๐) ชั่วโมง      ________________________________________________________________________________________________________
       ศึกษาการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมในแต่ละ แหล่งที่อยู่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพืช สัตว์ และมนุษย์ การเปลี่ยนสถานะของสสาร การละลายของสาร ในน้ํา การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ แรงลัพธ์ แรงเสียดทาน การได้ยินเสียงผ่านตัวกลาง ลักษณะและการเกิดเสียงสูง เสียงต่ํา เสียงดัง และเสียงค่อย ระดับเสียงและมลพิษ ทางเสียง ความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ การใช้แผนที่ดาว แบบรูปเส้นทางการขึ้นและตก ของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าในรอบปี ปริมาณน้ําในแต่ละแหล่ง ปริมาณน้ําที่มนุษย์สามารถนํามาใช้ได้ การใช้ น้ําอย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ํา วัฏจักรน้ํา กระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้ําค้าง และน้ําค้างแข็ง กระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ
<<< วิทยการการคำนวณ >>> การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การเขียนรหัสลําลองเพื่อแสดง วิธีแก้ปัญหา การออกแบบ และการเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไขและการทํางานแบบวนซ้ํา การใช้ซอฟต์แวร์ ประมวลผลข้อมูล การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลและการประเมิน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล อันตรายจากการใช้งานและอาชญากรรมทางอินเทอรเน็ต ใช้การสืบเสาะหาความรู้ สังเกต รวบรวมข้อมูล จัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล สร้างแบบจําลอง และอธิบายผลการสํารวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและทักษะการเรียนรูป
ในศตวรรษที่ ๒๑ ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรูป มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่น แสดงวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล เชิงตรรกะ ใช้รหัสลําลองแสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ออกแบบ และเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข และการทํางานแบบวนซ้ํา ตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการแก้ปัญหา ใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูล แยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล ตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้ความรู้และกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ในการดํารงชีวิต ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีมารยาท มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัดรวม 32 ตัวชี้วัด
ว ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ว ๑.๓ ป.๕/๑, ป.๕/๒ ว ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ว ๒.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๒.๓ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒ ว ๓.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๔.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕

footer